เมนู

อัตถุทธารกัณฑ์


ติกะ


[878] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล 12 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น
อกุศล.
ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน ?
วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.
[879] ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 4 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก และฝ่ายกิริยา (อย่างละ) 5 ดวง
ฌาน 3 (ในจตุกนัย) และ (ในปัญจกนัย) ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล
ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน 3 และ 4 ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และ
ฝ่ายวิบาก เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
ธรรมที่สัมปยุตตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา 2 ดวง กายวิญญาณที่สหรคต
ด้วยทุกขเวทนา เว้นทุกขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านั้นเสีย สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยทุกขเวทนา.

ธรรมสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 6 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 10 ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก 6 ดวง
ฝ่ายกิริยา 6 ดวง รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา
อรูป 4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล
และฝ่ายวิบาก เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
เวทนาทั้ง 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้จะกล่าวว่า ธรรม-
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าธรรม
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็ไม่ได้.
[880] ธรรมเป็นวิบาก เป็นไฉน ?
วิบากในภูมิ 4 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก.
ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 อกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่ง
วิบาก.
ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน ?
กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก.
[881] อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นไฉน ?
วิบากในภูมิ 3 และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
อุปาทินนุปาทานิยธรรม.

อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปที่กรรมมิได้
แต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยธรรม.
อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม.
[882] ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็น
ไฉน ?
จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล 12 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เศร้าหมอง และเป็นอารมณ์ของสังกิเลส.
ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.
ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสเป็นไฉน ?
มรรค 4 ซึ่งเป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส.
[883] ธรรมมีวิตกมีวิจาร เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 11 ดวง
ฝ่ายอกุศลวิบาก 2 ดวง ฝ่ายกิริยา 11 ดวง รูปาวจรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล
ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้น
วิตกและวิจารที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
มีวิตกมีวิจาร.

ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร เป็นไฉน ?
ทุติยฌานในรูปาวจรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา
ทุติยฌานในโลกุตรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นวิจารที่บังเกิดใน
จิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร.
ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นไฉน ?
ปัญจวิญญาณทั้ง 2 ฌาน 3 และ 3 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่าย
วิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป 4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน 3
และ 3 ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก วิจารที่บังเกิดในทุติยฌาน
ในปัญจกนัย รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร.
วิจารที่บังเกิดร่วมกับวิตกจะกล่าวว่ามีวิตกมีวิจารก็ไม่ได้ ว่าไม่มีวิตก
แต่มีวิจารก็ไม่ได้ ว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็ไม่ได้.
[884] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 4 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 5 ดวง ฝ่ายกิริยา 5 ดวง ฌาน 2
และ 3 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน 2 และ 3
ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นปีติที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้
เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ.
ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 4 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 6 ดวง ฝ่ายกิริยา 5 ดวง ฌาน 3
และ 4 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน 3 และ 4

ที่เป็นโลกุตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาท
เหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา.
ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง
ฝ่ายอกุศล 6 ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 10 ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก 6 ดวง
ฝ่ายกิริยา 6 ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา
อรูป 4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล
และฝ่ายวิบาก เว้นอุเบกขาเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา
ปีติไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วยสุขเวทนา ไม่สหรคตด้วย
อุเบกขาเวทนา
สุขเวทนาไม่สหรคตด้วยเวทนา แต่ที่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วย
อุเบกขาเวทนาก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่าสหรคตด้วยปีติก็มี
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา 2 ดวง กายวิญญาณที่สหรคต
ด้วยทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ จะ
กล่าวว่า สหรคตด้วยปีติก็ไม่ได้ ว่าสหรคตด้วยสุขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าสหรคต
ด้วยอุเบกขาเวทนาก็ไม่ได้.
[885] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจ-
ฉา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.
ธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอัน
มรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ

จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา 2 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดา-
ปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณก็มี.
ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง 3 ไม่ประหาณ
เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพ-
พาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง 3
ไม่ประหาณ.
[886] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ
เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจ-
ฉาเว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ.
ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3 ประหาณ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาท
เหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง 3
ประหาณ
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา 2 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตต-
เหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้อง
สูง 3 ประหาณก็มี.

ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้อง
สูง 3 จะประหาณ
เป็นไฉน ?
โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลใน
ภูมิ 4 วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรค และมรรคเบื้อง
สูง 3 จะประหาณ.
[887] ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้
จุติปฏิสนธิ.
ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพาน.
ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน
เป็นไฉน ?
วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาว-
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุ ให้ถึงนิพพาน.
[888] ธรรมเป็นของเสกขบุคคล เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล 3 เบื้องต่ำ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของเสกขบุคคล.
ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน ?
อรหัตผลเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของอเสกข-
บุคคล.

ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคล
เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 อกุศล วิบากในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป
และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่
เป็นของอเสกขบุคคล.
[889] ธรรมเป็นปริตตะ เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบากทั้งหมด กามาวจรกิริยาอัพยา-
กฤตและรูปทั้งหมด ภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นปริตตะ.
ธรรมเป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ?
กุศลธรรมและอัพยากฤตธรรมที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นมหัคคตะ.
ธรรมเป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัปปมาณะ.
[890] ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นไฉน ?
กามาวจรวิบากทั้งหมด กิริยามโนธาตุ อเหตุกกิริยา มโนวิญญาณ-
ธาตุที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็น
ปริตตะ.
ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน ?
วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญวนาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคตะ.

ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล 4 สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ.
จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง จิตตุปบาท
ที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกิริยา 4 ดวง อกุศลจิตทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ที่มี
อารมณ์ปริตตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นมหัคคตะแต่ไม่มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็มี
ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ก็มี
จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง จิตตุปบาท
ที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกิริยา 4 ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่าย
กิริยาอเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้
ที่มีอารมณ์เป็นปริตตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอัปป-
มาณะก็มี ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะ
ก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็ไม่ได้ก็มี
ฌาน 3 และ 4 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา
จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้
จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ ว่ามี
อารมณ์เป็นอัปปมาณะก็ไม่ได้
รูปและนิพพานจัดเป็นอนารัมมณะ.
[891] ธรรมทราม เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล 12 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมทราม.
ธรรมปานกลาง เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 3 วิบากในภูมิ 3 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูป
ทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมปานกลาง.

ธรรมประณีต เป็นไฉน ?
มรรค ที่เป็นโลกุตระ สามัญผล 4 และนิพพาน สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมประณีต.
[892] ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ 4 ดวงจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส
เวทนา 2 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นมิจฉาสภาวะ และให้ผลแน่นอนก็มี
ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี
ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน ?
มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมมา
สภาวะ และให้ผลแน่นอน.
ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ 4 ดวง จิตตุปบาทที่
สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทัธจจะ กุศลในภูมิ 3 วิบากใน
ภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมให้ผลแน่นอน.
[893] ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน ?
จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง จิตตุปบาทที่
เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกิริยา 4 ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์
แต่ไม่มีเหตุคือมรรคก็มี ที่มีมรรคเป็นอธิบดี แต่จะกล่าวว่ามีมรรคเป็นอารมณ์
ก็ไม่ได้ ว่ามีมรรคเป็นอธิบดีไม่ได้ก็มี
อริยมรรค 4 ไม่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่มีเหตุคือมรรค ที่มีมรรค
เป็นอธิบดีก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่ามีมรรคเป็นอธิบดีก็มี

รูปาวจรจตุตถฌานฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา อเหตุกกิริยามโนวิญญาณ-
ธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่ไม่มี
เหตุคือมรรค ไม่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่ามีมรรคเป็นอารมณ์
ก็มี
จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล 4 ดวง อกุศลทั้งหมด
กามาวจรวิบากทั้งหมด จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา 6 ดวง ฌาน 3 และ 4 ที่เป็น
รูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อรูป 4
ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา สามัญผล 4 สภาวธรรมเหล่านี้ จะ
กล่าวว่ามีมรรคเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ ว่ามีเหตุคือมรรคก็ไม่ได้ ว่ามีมรรคเป็น
อธิบดีก็ไม่ได้
รูปทั้งหมด และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.
[894] ธรรมเกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน ?
วิบากในภูมิ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านั้น ที่เป็นธรรม
เกิดขึ้นแล้วก็มี ที่เป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็มี จะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นธรรมยังไม่
เกิดขึ้น
กุศลในภูมิ 4 อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 และรูปที่กรรมได้แต่ง
ขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็มี ที่เป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้น
แต่จะกล่าวไม่ได้ว่าเป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็มี
นิพพาน จะกล่าวว่าเป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมยังไม่
เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็ไม่ได้.
[895] ธรรมทั้งปวง เว้นนิพพานเสีย ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคต
ก็มี ที่เป็นปัจจุบันก็มี

นิพพาน จะกล่าวว่าเป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่าเป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่าเป็น
ปัจจุบันก็ไม่ได้.
[896] ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เป็นไฉน ?
วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต
ธรรมที่จะจัดว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตโดยเฉพาะ ไม่มี.
ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน ?
ปัญจวิญญาณทั้ง 2 มโนธาตุ 3 สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี
อารมณ์เป็นปัจจุบัน.
จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก 10 ดวง มโนวิญญาณธาตุที่สหรคต
ด้วยอุเบกขา ฝ่ายอกุศลวิบาก อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วย
โสมนัส สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นอดีตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอนาคต
ก็มี ที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็มี
กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา 9 ดวง รูปาวจรจตุตถ-
ฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นอดีตก็มี
ที่มีอารมณ์เป็นอนาคตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็มี ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์
เป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นปัจจุบัน
ก็ไม่ได้ก็มี
ฌาน 3 และ 4 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก ฝ่ายกิริยา
จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ มรรค 4 ที่เป็น
โลกุตระและสามัญผล 4 สภาวธรรมเหล่านี้จะกล่าวว่ามีอารมณ์อดีตก็ไม่ได้
ว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็ไม่ได้

รูป และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.
[897] ธรรมทั้งปวง เว้นรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพาน
ที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี ที่เป็นทั้งภายในและภายนอกก็มี
รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพาน จัดเป็นภายนอก.
[898] ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน เป็นไฉน ?
วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน.
ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เป็นไฉน ?
ฌาน 3 และ 4 ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก ฝ่ายกิริยา
จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ มรรค 4 ที่เป็นโลกุตระ และสามัญผล 4
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก.
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมด
เว้นรูปเสีย, รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้
ที่มีอารมณ์เป็นภายในก็มี ที่มีอารมณ์เป็นภายนอกก็มี ที่มีอารมณ์เป็นทั้งภายใน
และภายนอกก็มี
อากิญจัญญายตนะ จะกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นภายในก็ไม่ได้ ว่ามี
อารมณ์เป็นภายนอกก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอกก็ไม่ได้
รูป และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ.
[899] ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน ?
รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้.
ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้.

ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน ?
กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤตในภูมิ 3 รูปที่
เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้.
ติกะ จบ

อัฏฐกถากัณฑวรรณนา

*

อธิบายเนื้อความหมวดติกะ


บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาอัฏฐกถากัณฑ์ที่ท่านตั้งไว้ในลำดับแห่ง
นิกเขปกัณฑ์. ถามว่า ก็กัณฑ์นี้ ชื่อว่า อัฏฐกถากัณฑ์ เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะยกเนื้อความพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นขยายความ.
จริงอยู่ ความแตกต่างกันแห่งธรรมที่มาในปิฎกทั้ง 3 ท่านได้
กำหนดแยกแยะใคร่ครวญไว้ด้วยอัฏฐกถากัณฑ์นั่นแหละ ย่อมชื่อว่า เป็นคำ
อันท่านวินิจฉัยดีแล้ว. แม้จะกำหนดทางแห่งนัยในพระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น
ตลอดถึงการขยายความปัญหา การเป็นไปแห่งการนับในมหาปกรณ์ ไม่ได้
ก็ควรนำมาเปรียบเนื้อความดูจากอัฏฐกถากัณฑ์ได้.
ถามว่า ก็อัฏฐกถากัณฑ์นี้ เกิดแต่ใคร ?
ตอบว่า เกิดแต่พระสารีบุตรเถระ.
จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระได้กล่าวอัฏฐกถากัณฑ์ให้สติ วิหาริกของ
ท่านรูปหนึ่ง ซึ่งไม่อาจกำหนดขยายเนื้อความในนิกเขปกัณฑ์ได้ แต่อัฏฐกถา
กัณฑ์นี้ ท่านกล่าวคัดค้านไว้ในมหาอรรถกถาว่า ธรรมดาพระอภิธรรมไม่ใช่
* บาลีเป็น อัตถทธารกัณฑ์